Hops in Kettle VS. Hops in Spider

เมื่อพูดถึงฮอปแน่นอนว่าสิ่งแรกที่เรานึกถึงคือความขม รสชาติ และกลิ่นหอมๆในเบียร์ และสำหรับเหล่า brewer ที่ชื่นชอบในการใช้ฮอปย่อมอยากใช้วัตถดิบนี้ให้ดีที่สุด ให้ได้น้ำมันของฮอปออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ทีนี้วิธีการใช้ฮอปนั้นมีหลายแบบ โดยแบบที่มีการใช้อย่างแพร่หลายที่สุดก็คือการใช้ตะแกรงกรอง Spider กับวิธีเทลงไปตรงๆในถัง brew เลย ซึ่งแน่นอนว่าวิธีการต่างกัน เหล่า brewer ย่อมตั้งคำถามว่า เอ๊ะ แล้วผลที่ได้ออกมาอันไหนมันโชว์คาแรคเตอร์ กลิ่นหอม และรสชาติของฮอปออกมาได้ดีกว่ากันล่ะ

ด้วยคำถามที่หลั่งไหลเข้ามามากมายถึงประเด็นนี้ ทำให้ทาง Brulogy ได้ทำการทดสอบขึ้นมาโดยการทำเบียร์สองถังด้วยวัตถุดิบ วิธีการ และขั้นตอนที่เหมือนกันเป๊ะๆ ต่างกันเพียงแค่อย่างเดียวคือวิธีการใช้ฮอป

โดยปกติแล้วทาง Brulogy เองก็ใช้ Spider ทุกครั้งในการใช้ฮอป แต่ก็เกิดการตั้งคำถามขึ้นมาว่า หรือว่าการเทลงไปเลยในถังต้มโดยตรงจะช่วยดึงน้ำมันของตัวฮอปออกมาได้ดีกว่ารึเปล่านะ

การทดสอบครั้งนี้ของ Brulogy ได้รับแรงบันดาสลใจจากช่อง Youtuber ที่ชื่อว่า ‘The Apertment brewer’ เนื่องจากคุณสตีฟแห่งช่องนี้แทบไม่เคยใช้ Spider ในการ brew เลย ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า จากตำราที่ศึกษามารวมถึงอุปกรณ์ที่ได้รับการแนะนำต่อๆกันมาเนี่ย แท้จริงแล้วมันจำเป็นจริงๆหรือไม่ หรือไม่ใช้อุปกรณ์นี้เลยจะดีซะยิ่งกว่า

เริ่มกระบวนการโดยทำการทดลองทำเบียร์ IPL (Indian Pale Lager) โดยในการทดสอบนี้จะใช้ฮอป Elderado [คาแรคเตอร์รสชาติ : ผลไม้หน้าร้อน (Flavors of tropical fruit), สับปะรด (pineapple), มะม่วง (mango). คาแรคเตอร์กลิ่น : ลูกแพร (Aromas of pear), แตงโม (watermelon) , กลุ่มผลไม้ผลเดี่ยว - เชอร์รี่/พีช/ลูกท้อ (stone fruit) and ขนามหวาน (candy)] และ Pilsener มอลต์ โดยทั้งสองแบชนี้ตั้งค่า OG ไว้ที่ 1.050

เริ่มการแมชที่อุณหภูมิ 68 องศา ทั้งสองแบชพร้อมๆกัน จากนั้นทำการใส่ฮอปที่นาทีที่ 60, 30, และ 5 เพื่อให้ได้ค่า IBU ที่ 20 โดยแบชแรกเทฮอปลงใน Spider กับแบชที่สองใช้การโปรยลงไปทั่วๆถัง brew หลังผ่านขั้นคอนทั้งหมดทาง Brulogy ได้ทำการ Whirlpool ทั้งสองแบช จากนั้นทำการเช็คค่า SG โดยค่า SG ของแบชที่เทลงไปในถังโดยตรงนั้นวัดออกมาได้ 1.049 และแบชที่ใช้ spider วัดออกมาได้ 1.048 ซึ่งใกล้เคียงกับค่า OG ทั้งคู่

จากนั้นทำการใส่ยีสต์และหมักต่อจนจบกระบวนการ ผ่านไปประมานหนึ่งอาทิตย์ ทาง Brulogy ก็ทำการ Cold Crash ออกมาเป็น Final เบียร์ ที่สมบูรณ์ โดยหากมองจากตาเปล่า เบียร์จากทั้งสองแบชสองวิธีการนั้นแทบไม่ต่างกันเลย แต่เรื่องของรสชาติและกลิ่นล่ะ? ทาง Brulogy ได้เซ็ตอัพวิธีการทดสอบความต่างสองเบียร์สองตัวนี้ด้วยการกำหนดกลุ่มนักชิม โดยกลุ่มแรกนี้คือกลุ่มที่รู้ว่าเบียร์ที่ชิมคือเบียร์ที่ทำการทดสอบนี้ กับอีกกลุ่มคือการทดสอบแบบ Blind Test โดยผู้ชิมจะไม่ได้รับข้อมูลใดใดเลยจากการชิมเบียร์ทั้งสองตัว

กลุ่มแรกเริ่มจาก Brewer ของ Brulogy เอง ทำการชิมและต้องทายว่าแก้วไหนคือแบชที่เทฮอปลงไปเลยโดยไม่ได้ใช้ Spider ผ่านการชิมในแก้วที่สีต่างกันสามสี หลังจากทำการชิมครบทั้งหมด Brewer ตอบถูกเพียงแค่ 2 รอบจากทั้งหมด 5 รอบ นั่นแสดงให้เห็นว่าทั้งสองตัวแทบไม่มีความต่างกันเลย

ทดสอบต่อด้วยแขกรับเชิญพิเศษคุณ Steve จากชอง Youtube ‘The Apartment Brewer’ ที่ได้รู้ข้อมูลการทดสอบครั้งนี้ โดยทำการชิมจากแก้วที่ต่างกันสามสี และทายว่าแก้วไหนคือเบียร์ที่ไม่ได้ใช้ Spider ในการใช้ฮอป คุณสตีฟได้ทำการคอมเมนต์ว่า รสชาติดี กลิ่นฮอปหอมทุกแก้ว แทบจะไม่รู้สึกถึงความต่างเลยด้วยซ้ำ สุดท้ายแล้วคุณสตีฟทายถูกว่าแก้วไหนไม่ได้ใช้ Spider แต่ถึงกับต้องขอเปลี่ยนคำตอบถึงสองครั้งเนื่องจากมันแทบไม่มีอะไรต่างกันเลย

มาต่อที่กลุ่ม Blind test จำนวน 20 คน ที่ไม่ได้รับข้อมูลการทดสอบใดๆในครั้งนี้ โดยวิธีการก็ไม่ได้ต่างกันกับกลุ่มแรกมาก ผู้ชิมหนึ่งคนจะได้รับแก้วทั้งหมด 3 แก้ว เบียร์ที่ไม่ได้ใช้ Spider 2 แก้ว กับ ที่ใช้ Spider 1 แก้ว หลังจบการทดสอบแล้วมีเพียงแค่ผู้ชิม 7 คนที่สามารถตอบถูกว่าแก้วไหนคือแบชที่ไม่ได้ใช้ Spider

ดังนั้นจากการทดลองครั้งนี้ได้ผลสรุปว่า ทั้งสองวิธีการให้ผลลัพธ์ที่แทบไม่ต่างกัน แน่นอนว่าถ้าคุณทำการทดสอบผ่านแลปผลที่ออกมาย่อมต่าง แต่จากการบริโภคนั้นมันใกล้เคียงกันมากซะจนแทบไม่มีผล แต่เนื่องจากการทดลองครั้งนี้ทาง Brulogy ได้ทำการทดลองในปริมาณโฮมบริว ดังนั้นปริมาณการใช้ฮอปไม่ได้เยอะมากตามปริมาณของถัง แต่ถ้าทำการผลิตเบียร์อย่าง IPA ที่มีคาแรคเตอร์การใช้ฮอปที่โดดเด่น โดย brew ในปริมาณที่มากขึ้นกว่าแบบ home brew ล่ะ?! นัก brewer ชาวไทยทั้งหลายต้องไปลองทำหาคำตอบกันแล้วล่ะ!

credit website : https://brulosophy.com/